ประกาศข่าวสาร
เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ >>> การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพรเพื่อชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อเรื่อง           การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชา การปลูกพืชสมุนไพร เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพรเพื่อชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย             นางกันยา สุภสร
ตำแหน่ง         ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนพรานวิบูลวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์          2565
 
 
บทคัดย่อ
 
            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชา การปลูกพืชสมุนไพร เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพรเพื่อชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชา การปลูกพืชสมุนไพร เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพรเพื่อชีวิต และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชา การปลูกพืชสมุนไพร เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพรเพื่อชีวิตกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3  โรงเรียนพรานวิบูลวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพรเพื่อชีวิต จำนวน 9 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จํานวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชา การปลูกพืชสมุนไพร เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพรเพื่อชีวิต เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test dependent)   
 
            ผลการวิจัย พบว่า
                1.  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชา การปลูกพืชสมุนไพร เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพรเพื่อชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.65/86.73  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
                2.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชา การปลูกพืชสมุนไพร เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพรเพื่อชีวิต  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                3.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชา การปลูกพืชสมุนไพร เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพรเพื่อชีวิต  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.56)    
 

Adobe Acrobat Document ดาวน์โหลดไฟล์
โพสเมื่อ : 30 ส.ค. 2566,00:00   อ่าน 83 ครั้ง